skip to main
|
skip to sidebar
ครูอ้อย
ครูอ้อย
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ครูอ้อยและเพื่อนๆ นักศึกษา ป บัณฑิตศึกษาดูงาน
ครูอ้อยและเพื่อน ๆ นักศึกษา ป บัณฑิตศึกษาดูงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ภาพสาวสวย ๆ
http://Krusathid.blogspot.com
http://uithaikana52.blogspot.com
http://krubuntawee.blogspot.com
http://daraton09.blogspot.com
http://krunui.blogspot.com
http://science009.blogspot.com
http://krunee.blogspot.com
http://thwat1702.blogspot.com
http://tonkhao2552.blogspot.com
http://kruwat.blogspot.com
http://wirut.2517blogspot.com
http://kurchok.blogspot.com
http://krujeep.blogspot.com
http://krudeach009.blogspot.com
เมืองชายทะเลแสนสวย
เกาะที่กระบี่สวยจังเลย
เกาะกลางทะเล
ช่องเขาทะเลแหวกที่สวยอีกสถานที่หนึ่งของประเทศไทย
บทที่ 3 สถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้ของไทย
สถานที่ท่องเที่ยว ภาคใต้
/
กระบี่
ข้อมูลทั่วไป
กระบี่ เมืองชายทะเลในฝันงดงามด้วยหาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการังสวย ถ้ำโตรกชะโงกผา และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า ๑๐๐ เกาะ รวมกันเป็นมนต์เสน่ห์ที่สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน
กระบี่ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๘๑๔ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๔,๗๐๘ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า ๑๓๐ เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เทือกเขาพนมเบญจา จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความหมายที่แปลว่าดาบ เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณก่อนที่จะสร้างเมือง อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทิศใต้ ติดกับจังหวัดตรังและทะเลอันดามันทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดพังงาและทะเลอันดามัน
บทที่ 4 ข้อมูลชายทะเลในภาตใต้
ข้อมูลทั่วไป
กระบี่ เมืองชายทะเลในฝันงดงามด้วยหาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการังสวย ถ้ำโตรกชะโงกผา และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า ๑๐๐ เกาะ รวมกันเป็นมนต์เสน่ห์ที่สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน
คลองท่อม
พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม ตั้งอยู่บริเวณวัดคลองท่อม บนถนนเพชรเกษม หลักกิโลเมตรที่ ๗๑–๗๒ ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองท่อมประมาณ ๑ กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บสะสมสิ่งของ วัตถุโบราณจำนวนมากมายที่ขุดค้นพบได้ในบริเวณที่เรียกว่า “ควนลูกปัด” อันเป็นเนินดินหลังวัดคลองท่อม อาทิ เครื่
ข้อมูลทั่วไป
พังงา เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ ๔,๑๗๐.๘๙๕ ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๗๘๘ กิโลเมตร ชื่อของจังหวัดพังงานั้นเดิมน่าจะเรียกว่า “เมืองภูงา” ตามชื่อเขางา หรือเขาพังงา ซึ่งอยู่ในตัวเมืองพังงาในปัจจุบัน เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงเรียกกันว่า “เมืองภูงา” เมืองภูงานี้อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองเป็นคู่กับเมืองภูเก็ตมาแต่เดิมก็ได้ แต่เหตุที่เมืองภูงากลายเป็นเมืองพังงานั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรณ์จึงมีฝรั่งมาติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมาก และฝรั่งเหล่านี้คงจะออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมือง “พังงา” เพราะแต่เดิมฝรั่งเขียนเมืองภูงาว่า PHUNGA หรือ PUNGA ซึ่งอาจอ่านว่า ภูงา หรือจะอ่านว่า พังงา หรือ พังกา ก็ได้
อำเภอเมือง
เมืองพังงา เมืองที่สงบเงียบดูเรียบง่าย เป็นอำเภอที่มีภูเขารูปลักษณะสวยงามแปลกตาตลอดเส้นทาง ภูเขาเหล่านี้มีต้นไม้เขียวครึ้มขึ้นปกคลุม ทำให้ดูชุ่มชื้นและเย็นสบาย มีถนนหนทางที่สะอาด ตึกสองข้างทางยังเป็นตึกเตี้ย ๆ ที่ไม่บดบังความสวยงามของทิวทัศน์ธรรมชาติ เป็นเมืองที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเรียบง่ายในการพักผ่อนอยู่กับธรรมชาติไม่มีแสงสี และก่อนจะเข้าถึงตัวเมืองพังงา จะมองเห็น “เขารูปช้าง” สูงตระหง่านแต่ไกล ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด
คุระบุรี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อยู่ตำบลเกาะพระทอง ครอบคลุมพื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ คำว่า “สิมิลัน” เป็นภาษายาวี หรือ มลายู แปลว่า เก้า หรือ หมู่เกาะเก้า หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มีทั้งหมด ๙ เกาะ เรียงลำดับจากเหนือมาใต้ ได้แก่
ตะกั่วป่า
หาดบางสัก อยู่ตำบลบางม่วง ริมถนนสายเพชรเกษม สายท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า กิโลเมตรที่ ๗๖-๗๗ มีทางแยกซ้ายมือเข้าไป ๑๐๐ เมตร ชายหาดบางสักมีหาดทรายขาวสะอาดยาวขนานกับทิวสนร่มรื่น เล่นน้ำได้ ยามเย็นจะมีชาวบ้านนักท่องเที่ยวมานั่งชมรอพระอาทิตย์ตกอยู่เสมอ ชายหาดจะมีที่พัก และร้านอาหารบริการ
ท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๕,๐๐๐ ไร่ แยกออกเป็นสองส่วน คือ เทือกเขาลำปี ประกอบด้วยภูเขาหลายลูกเรียงเป็นแนวยาว ส่วนใหญ่เป็นหินอัคนี อายุอยู่ในช่วง ๖๐–๑๔๐ ล้านปี สภาพป่าเป็นป่าดงดิบ มีพันธุ์ไม้ เช่น ไม้ยาง ตะเคียนทอง กระบาก เฟิร์น หวาย ไผ่ มียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาขนิม สูง ๖๒๒ เมตร และหาดท้ายเหมืองซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน ชายหาดฝั่งตะวันตกเป็นหาดทรายขาว ด้านตะวันออกติดป่าชายเลนและเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานฯ ได้แก่ อีเห็น กวางป่า ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา ส่วนในทะเลและชายหาดจะพบ ปลากระเบน ปลากระบอก ปลาบิน ปลาดาว และปะการังกลุ่มเล็ก
ตะกั่วทุ่ง
วัดสุวรรณคูหา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลกระโสม ตามทางหลวงหมายเลข ๔ (พังงา-ภูเก็ต) ห่างจากตัวเมืองพังงาประมาณ ๙ กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๓๐ จะมีถนนลาดยาง แยกเข้าขวามือไปอีก ๑ กิโลเมตร วัดสุวรรณคูหานี้ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า “วัดถ้ำ” เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพังงา เนื่องจากเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทางโบราณคดี บริเวณที่ตั้งวัดมีภูเขา ซึ่งมีถ้ำใหญ่น้อย ถ้ำที่สำคัญ ได้แก่ ถ้ำใหญ่ ถ้ำแจ้ง ถ้ำมืด และถ้ำแก้ว โดยถ้ำใหญ่อยู่ตอนล่างสุด ตลอดความยาวของถ้ำประดับตกแต่งด้วยกระเบื้อง ถ้วย จานเชิงลายคราม และเบญจรงค์ ถ้ำใหญ่นี้ใช้เป็นวิหารมีพระพุทธรูปต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ที่สำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์ มีความงดงามมาก นอกจากนั้นยังมีพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าแผ่นดิน และพระราชวงศ์หลายพระองค์ เช่น จปร. ปปร. ภปร. รพ. เป็นต้น นอกจากนั้นบริเวณหน้าถ้ำยังเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงจำนวนมากที่ลงมาหาอาหาร เก็บค่าเข้าชมเฉพาะชาวต่างชาติ คนละ ๑๐ บาท องมือหิน เครื่องประดับซึ่งทำจากหินและดินเผา รูปสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปัดอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของมนุษย์สมัยเมื่อ ๕,๐๐๐ ปีเศษมาแล้ว เปิดให้เข้าชมเวลา ๘.๓๐–๑๑.๐๐ น. และ ๑๓.๐๐–๑๗.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
อำเภอเมือง
ตัวเมืองกระบี่ เป็นเมืองที่มีภูมิทัศน์สวยงาม มีเขาขนาบน้ำที่เป็นจุดเด่นของเมืองคู่กับป่าชายเลนที่สมบูรณ์ เขียวชอุ่ม ทำให้บรรยากาศดูร่มรื่นสบายตา นักท่องเที่ยวสามารถพายเรือแคนูเพื่อเป็นการพักผ่อนและออกกำลังกาย หรือในช่วงเย็นแดดร่ม อากาศสบาย ๆ สามารถเดินเล่นรับลมพร้อม ๆ กับนั่งรับประทานอาหารเย็นได้ที่ตลาดโต้รุ่ง บริเวณท่าเรือเจ้าฟ้า และบริเวณตลาด ถนนมหาราช ก็มีอาหารพื้นเมืองให้รับประทาน ทั้งขนมจีนน้ำยา น้ำพริก แกงไตปลา ไก่ทอดพื้นเมืองรสชาติกลมกล่อม และสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวตามหาดหรือเกาะต่าง ๆ เช่น หาดไร่เลย์ อ่าวนาง เกาะลันตา เกาะพีพี เกาะจำ และเกาะสีบอยา สามารถลงเรือโดยสารหรือติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ในอำเภอเมือง
อ่าวลึก
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี มีพื้นที่ ๑๒๑ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขาหินปูน ป่าดิบ ป่าชายเลน และเกาะต่าง ๆ อุทยานฯ มีพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าพรุ ป่าชายหาด ป่าชายเลน รวมถึงสังคมพืชน้ำใต้ท้องทะเล ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ๒ เส้นทาง คือ เส้นทางที่เดินภายในอุทยานฯ ระยะทาง ๑ กิโลเมตร และ เส้นทางเดินจากอุทยานฯ ไปป่าชายเลน ระยะทาง ๓-๔ กิโลเมตร
เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕๒ ตารางกิโลเมตร ในอำเภอเกาะลันตา ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตาใหญ่ เกาะลันตาน้อย เกาะตะเล็งเบ็ง และเกาะใกล้เคียง รวมไปถึงหมู่เกาะห้า หมู่เกาะรอก และเกาะไหง
เขาพนม
อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา เป็นอุทยานฯ ทางบกแห่งเดียวของจังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ ๓๑,๓๒๕ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก และอำเภอเขาพนม มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนในแนวเหนือจรดใต้ มียอดเขาพนมเบญจาซึ่งสูง ๑,๓๙๗ เมตร จากระดับน้ำทะเลสูงที่สุดในกระบี่ มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงามทั้งลำธาร น้ำตก ถ้ำ และมีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา หมีควาย เสือปลา มีนกที่สามารถพบเห็นกว่า ๒๑๘ ชนิด เช่น นกอินทรี นกเงือก นกหัวขวาน เป็นต้น
บทที่ 5 ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
ชุมพรประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก "
ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือเพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ในพุทธศักราช 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่าเมืองชุมพร เป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นมณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองระบอบมณฑลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด
คำว่า “ชุมพร” มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ชุมพร” อีกประการหนึ่งในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบเป็นการบำรุงขวัญทหาร ในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพร หรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน
แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพร
ภูมิประเทศโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นแนวยาว และแคบไปตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 222 กิโลเมตร ความกว้างของจังหวัดโดยเฉลี่ยประมาณ 36 กิโลเมตร พื้นที่ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับพื้นที่ราบ พื้นที่ฝั่งตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาตะนาวศรี และเทือกเขาภูเก็ต ซึ่งเป็นเขตชายแดนไทย-พม่า การที่จังหวัดชุมพรถูกขนาบด้วยภูเขาและทะเล อีกทั้งยังได้รับมรสุมทั้งทางฝั่งทะเลด้านตะวันออก และด้านตะวันตก ทำให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ป่าไม้ ดีบุก และปะการัง แม่น้ำที่สำคัญๆ ของจังหวัด ได้แก่ แม่น้ำท่าตะเภาและแม่น้ำหลังสวน นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วยลำคลองสายสั้นๆ ไหลจากเทือกเขาทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดไหลลงสู่อ่าวไทยบริเวณปากน้ำชุมพร
อาณาเขตและการปกครอง :
ชุมพร ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย บนแหลมมลายูบริเวณคอคอดกระ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ระยะทางประมาณ 463 กิโลเมตร และทางรถไฟสายใต้ประมาณ 485 กิโลเมตร มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 36 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ เขตอำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว ติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
ทิศใต้ เขตอำเภอละแม และอำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับอำเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก เขตอำเภอปะทิว อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน และอำเภอละแม จดอ่าวไทย
ทิศตะวันตก เขตอำเภอเมืองชุมพร อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับจังหวัดระนอง และทิศตะวันตกของอำเภอ ท่าแซะบางส่วนติดต่อกับสหภาพพม่า
ชุมพร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คืออำเภอเมืองชุมพร อำเภอหลังสวน อำเภอสวี อำเภอท่าแซะ อำเภอละแม อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอทุ่งตะโก มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 6,009.008 ตารางกิโลเมตร
ผู้ติดตาม
คลังบทความของบล็อก
▼
2009
(5)
►
มิถุนายน
(2)
▼
พฤษภาคม
(3)
ครูอ้อยและเพื่อนๆ นักศึกษา ป บัณฑิตศึกษาดูงาน
บทที่ 2 ธรรมชาติชายทะเล
บทที่ 1 ธรรมชาติแสนสวย
เกี่ยวกับฉัน
ครูอ้อย
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น